ก็ไพร่นี่คะ เล่ม 3
โดย คำ ผกา
รวมบทความคัดสรรจากมติชนสุดสัปดาห์
ตั้งแต่เลือกตั้ง 3 กรกฎา 2554 และหนึ่งปีวิบากรัฐบาลเลือกตั้ง
คำนำเสนอโดย เวียงรัฐ เนติโพธิ์ ว่าด้วย “ปรากฏการณ์คำ ผกา: เมื่อหญิงคนชั่วริสร้างชาติ”
พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก กันยายน 2556
424 หน้า ราคา 400 บาท
โดย คำ ผกา
รวมบทความคัดสรรจากมติชนสุดสัปดาห์
ตั้งแต่เลือกตั้ง 3 กรกฎา 2554 และหนึ่งปีวิบากรัฐบาลเลือกตั้ง
คำนำเสนอโดย เวียงรัฐ เนติโพธิ์ ว่าด้วย “ปรากฏการณ์คำ ผกา: เมื่อหญิงคนชั่วริสร้างชาติ”
พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก กันยายน 2556
424 หน้า ราคา 400 บาท
บางส่วนจากคำนำเสนอ โดย เวียงรัฐ เนติโพธิ์
ข้อสงสัยในหญิงคนชั่ว
คำถามที่ข้าพเจ้าติดหนี้ค้างอยู่หลายปี คือคำถามจากอาจารย์ที่ปรึกษาของ “คำ ผกา” ที่ชื่อว่าอาจารย์โยชิฟุมิ ทามาดะ แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต สมัยที่คำ ผกา ยังมีหนังสือตีพิมพ์เพียง 7-8 เล่ม อาจารย์ถามข้าพเจ้าว่า “อาจารย์เวียงรัฐครับ ทำไมลักขณาจึงได้รับความนิยมในสังคมไทย” ข้าพเจ้าได้ตอบไป ง่ายๆ ว่า “คงเพราะลักขณาเธอชอบด่าและสบประมาทพวกคอนเซอร์เวทีฟมั้ง จึงสร้างความสะใจให้คนที่ไม่ใช่คอนเซอร์เวทีฟซึ่งมีอยู่ไม่น้อยในสังคมไทย” แม้จะตอบไปเช่นนั้น แต่ก็ติดค้างมาตลอดว่าไม่น่าจะใช่คำตอบที่รอบด้านนัก หลายปีที่ผ่านมาข้าพเจ้าจึงอ่านและฟังคำ ผกา ชนิดที่มีคำถามนี้ตามมาด้วยตลอด ช่างน่าสงสัยนักว่าหล่อนมีอะไรดี (พูดให้ถูกคือหล่อนมีอะไรเลว) จึงเป็นที่ถูกอกถูกใจคนในสังคมไทยส่วนหนึ่งนักหนา และยิ่งนับวันก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้นเมื่อถึงวาระที่สำนักพิมพ์อ่านได้รวมบทความของคำ ผกา ที่เคยตีพิมพ์ใน มติชนสุดสัปดาห์ ตั้งแต่หลังการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา เป็น ก็ไพร่นี่คะ เล่ม 3 นี้ ข้าพเจ้าประสงค์จะตอบคำถามที่ค้างไว้หลายปีนั้นให้ได้มากขึ้น แม้จะไม่แน่ใจนักว่าจะตอบได้ดีขึ้นหรือไม่ก็ตาม
คำถามที่ข้าพเจ้าติดหนี้ค้างอยู่หลายปี คือคำถามจากอาจารย์ที่ปรึกษาของ “คำ ผกา” ที่ชื่อว่าอาจารย์โยชิฟุมิ ทามาดะ แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต สมัยที่คำ ผกา ยังมีหนังสือตีพิมพ์เพียง 7-8 เล่ม อาจารย์ถามข้าพเจ้าว่า “อาจารย์เวียงรัฐครับ ทำไมลักขณาจึงได้รับความนิยมในสังคมไทย” ข้าพเจ้าได้ตอบไป ง่ายๆ ว่า “คงเพราะลักขณาเธอชอบด่าและสบประมาทพวกคอนเซอร์เวทีฟมั้ง จึงสร้างความสะใจให้คนที่ไม่ใช่คอนเซอร์เวทีฟซึ่งมีอยู่ไม่น้อยในสังคมไทย” แม้จะตอบไปเช่นนั้น แต่ก็ติดค้างมาตลอดว่าไม่น่าจะใช่คำตอบที่รอบด้านนัก หลายปีที่ผ่านมาข้าพเจ้าจึงอ่านและฟังคำ ผกา ชนิดที่มีคำถามนี้ตามมาด้วยตลอด ช่างน่าสงสัยนักว่าหล่อนมีอะไรดี (พูดให้ถูกคือหล่อนมีอะไรเลว) จึงเป็นที่ถูกอกถูกใจคนในสังคมไทยส่วนหนึ่งนักหนา และยิ่งนับวันก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้นเมื่อถึงวาระที่สำนักพิมพ์อ่านได้รวมบทความของคำ ผกา ที่เคยตีพิมพ์ใน มติชนสุดสัปดาห์ ตั้งแต่หลังการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา เป็น ก็ไพร่นี่คะ เล่ม 3 นี้ ข้าพเจ้าประสงค์จะตอบคำถามที่ค้างไว้หลายปีนั้นให้ได้มากขึ้น แม้จะไม่แน่ใจนักว่าจะตอบได้ดีขึ้นหรือไม่ก็ตาม
******************************************************************************************************************
ผลงานก่อนหน้านี้
****************************************************************************************************************
คำผกา : ประวัติ
ลักขณา ปันวิชัย หรือ คำ ผกา (ชื่อเล่น: แขก) เกิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นนักเขียนที่เป็นรู้จักในฐานะนักเขียนคอลัมน์เรื่อง "กระทู้ดอกทอง" และพิธีกรในสถานีวอยซ์ทีวี
ในอดีตได้ทำงานเป็น นักข่าว และครู คอลัมนิสต์ นักแปล และได้ถ่ายภาพเปลือยให้แก่นิตยสารจีเอ็ม และถ่ายภาพเปลือยตัวเองเพื่อแสดงความเห็นในคดีระหว่างพนักงานอัยการ กับอำพล ตั้งนพกุล
ในขณะที่เป็นนักเขียนเธอได้มีนามปากกาหลายชื่อ ได้แก่ "คำ ผกา", "ฮิมิโตะ ณ เกียวโต" และ "คำปัน ณ ปันนา"
ลักขณา ปันวิชัย มีชื่อเล่นว่า "แขก" เกิดและโตที่บ้านสันคะยอม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เข้าศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย ต่อมาได้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านประวัติศาสตร์จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาหลังจากทำงานเป็นนักข่าวของอสมท และครูสอนวิชาสังคมศึกษาที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย ต่อมาได้รับทุนมอนบุโชไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ภายหลังจบปริญญาโทในด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เธอได้วางแผนทำดุษฎีนิพนธ์ในระดับปริญญาเอกในหัวข้อสตรีนิยม แต่ได้ยกเลิกการเรียนปริญญาเอก เนื่องจากอกหัก
ลักขณาเป็นนักเขียนที่มีแนวคิดร่วมสมัย โดยเฉพาะมุมมองที่ถนัดทางด้านสตรีนิยม มีสไตล์การเขียนที่เป็นเอกลักษณ์และก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะข้อสงสัยต่อองค์ความรู้เกี่ยวกับชนบทของเธอ ผลงานของเธอที่มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ในคอลัมน์ชื่อ "กระทู้ดอกทอง" โดยใช้นามปากกาว่า "คำ ผกา" และคอลัมน์ "จดหมายจากเกียวโต" โดยใช้นามปากกา "ฮิมิโตะ ณ เกียวโต" ซึ่งได้มีการตีพิมพ์รวมเล่มแล้ว
ลักขณาเขียนบทความประจำให้แก่นิตยสารหลายเล่ม เช่น ดิฉัน ("คลุกข้าว-ซาวเกลือ"), มติชนสุดสัปดาห์, อ่าน ("หล่อนอ่าน"), VOLUME, HUG ("ผู้หญิงขั้วบวก") ฯลฯ และยังมีผลงานพ็อกเก็ตบุครวมบทความต่าง ๆ ทั้งยังเป็นผู้ดำเนินรายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ร่วมกับ อรรถ บุนนาค ซึ่งเป็นรายการที่วิพากษ์วิจารณ์ประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นที่สนใจของสังคมและยังเป็นผู้ดำเนินรายการดีว่าคาเฟ่ ร่วมกับ วันรัก สุวรรณวัฒนา มนทกานติ รังสิพราหมณกุล จิตต์สุภา ฉิน อินทิรา เจริญปุระ อรรถ บุนนาคกรกฎ พัลลภรักษา และ พรรณิการ์ วานิช ซึ่งเป็นรายการผู้หญิงที่เป็นการรวบรวมเนื้อหาสาระและบันเทิงในมุมมองของผู้หญิง มีการวิพากษ์วิจารณ์ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และบันเทิงทั้งในและต่างประเทศ โดยรายการดังกล่าวออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี
ผลงานที่ตีพิมพ์เป็นเล่ม
- นามปากกา คำ ผกา
- Open House 2 (2545 รวมบทความของนักเขียนหลายคน)
- คืนวันพุธ (เรื่องสั้น) ใน อิสตรีอีโรติก (2545 รวมเรื่องสั้นของนักเขียนหลายคน)
- กระทู้ดอกทอง (2546 รวมบทความวิจารณ์วรรณกรรมที่เคยตีพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์[7])
- รักเธอ (เรื่องสั้น) ใน ชู้ รักนอกใจ (2546 รวมเรื่องสั้นของนักเขียนหลายคน)
- เซี่ยงไฮ้เบบี้ (2546 นวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติ แปลจากผลงานของเว่ย ฮุ่ย)
- ฉัน-บ้า-กาม (2547)
- รักไม่เคยชิน (2547)
- เรียกฉันว่า...ผู้หญิงพิเศษ (2547 รวมบทความของนักเขียนหลายคน)
- เกียวโต คู่มือท่องเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตนเอง (2552 เขียนร่วมกับกรกฎ พัลลภรักษา)
- ส้นสูง สโนไวท์ ลิปสติก (2552 เขียนร่วมกับกุสุมาลย์ ณ กำพู)
- บนเตียงเดี่ยว (เรื่องสั้น) ใน ริมฝีปาก (รวมเรื่องสั้นของนักเขียนหลายคน)
- ก็ไพร่นิค่ะ (2553)
- เปิด เปลื้อง เปลือย คำ ผกา (2554)
- นามปากกา ฮิมิโตะ ณ เกียวโต
- จดหมายจากเกียวโต (2545 รวมบทความสัพเพเหระเกี่ยวกับญี่ปุ่นที่เคยตีพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์)
- จดหมายจากสันคะยอม (2546)
- ยำใหญ่ใส่ความรัก (2546)
- ยุให้รำตำให้รั่ว (2548 รวมบทความจากคอลัมน์ชื่อเดียวกันที่เคยตีพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์)
- โสดสนุกสูตรอร่อย (2550)
- เกียวโต รักเธอมากขึ้นทุกวัน (2552)
- จักรวาลในสวนดอกไม้ (2552) ISBN : 9789744752383
- เมนูปรารถนา
- คลุกข้าวซาวเกลือ (2554 รวมบทความจากคอลัมน์ชื่อเดียวกันที่เคยตีพิมพ์ในนิตยสารดิฉัน)
- ติด (เรื่องสั้น) ใน สามัคคีเพศ (2554)
- นามปากกา คำปัน ณ ปันนา
- คืนนี้ฉันไม่อยากนอนกับใคร (เรื่องสั้น) ใน ทำไมเธอร้องไห้ (2549 รวมเรื่องสั้นของนักเขียนหลายคน)
**************************************************************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น